วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

Jeanne d'Arc




ฌาน ดาร์ก
(Jeanne d'Arc)
เกิด
ุ6 มกราคม ค.ศ. 1412
ดงเรมี ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต
30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431
ประเทศอังกฤษ
สัญชาติ
ชาวฝรั่งเศส
ชาติพันธุ์
ชาวฝรั่งเศส
อาชีพ
แม่ทัพนักบุญ
องค์การ
กองทัพฝรั่งเศส
รู้จักในสถานะ
ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ
ผลงานเด่น
ปลดปล่อยฝรั่งเศสจากอังกฤษระหว่างสงครามร้อยปี
ศาสนา
คริสต


          ฌาน ดาร์ก (ฝรั่งเศสJeanne d'Arc) หรือโจนออฟอาร์ก 
               โจนในบรรดาพี่น้อง 5 คน ของครอบครัวชาวนา ฌากส์ ดาร์ก และอิซาเบล เดอ วูตอง ในเมืองดองเรอมี ชายแดนจังหวัดชองปานและลอร์เรียน เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก โจนมาจากครอบครัวชาวนาและเป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทางสำหรับโจนตอนเด็กๆช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา และเรียนวิชาศาสนาและงานฝีมือจากแม่ กระทั่งอายุ 13 ปี โจนได้ยินเสียงเซนต์ไมเคิล เซนต์แคเธอรีน และเซนต์มาร์กาเร็ต ซึ่งเชื่อว่าเป็นเสียงของผู้นำสารจากพระเจ้า เสียงที่ได้ยินบอกว่าให้โจนเป็นผู้นำการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งการทำงานนี้โจนจะต้องตัดผมและใส่ชุดนักรบและถืออาวุธเยี่ยงบุรุษ  และเป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมื่ออายุ 19 ปี ยี่สิบสี่ปีต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น มรณสักขี ในปี ค.ศ. 1909 โจนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศี และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1920 ฌาน ดาร์กเป็นหนึ่งในสามนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสฌานอ้างว่าได้รับนิมิตจากพระเจ้าผู้ทรงบอกให้ไปช่วยกู้บ้านเมืองคืนจากการครอบครองของฝ่ายอังกฤษในปลายสงครามร้อยปี มกุฎราชกุมารชาร์ลส์ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ทรงส่งโจนไปช่วยผู้ถูกล้อมอยู่ในเมืองออร์เลอองส์ ฌานสามารถเอาชนะทัศนคติของนายทัพผู้มีประสบการณ์ได้และสามารถยุติการล้อมเมืองได้ภายใน 9 วัน หลังจากนั้นการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้งก็นำไปสู่การราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่แรงส์ (Reims) ซึ่งเป็นวิธีการพยายามยุติข้อขัดแย้งของสิทธิในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส
ฌาน ดาร์กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมตะวันตกมาโดยตลอด ตั้งแต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มาจนถึงปัจจุบันนักการเมืองฝรั่งเศสก็มักจะปลุกเร้าความเป็นชาตินิยมโดยการอ้างถึงโจน นักเขียนสำคัญๆ และคีตกวีที่สร้างงานเกี่ยวกับโจนออฟอาร์คก็ได้แก่วิลเลียม เชกสเปียร์ (“เฮนรีที่ 6, ตอนที่ 1”) วอลแตร์ (“La Pucelle d'Orléans” (โคลง)) ฟรีดริช ชิลเลอร์ (Friedrich Schiller) (“Die Jungfrau von Orléans”) จูเซปเป แวร์ดี (“Giovanna d'Arco”) ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (“Орлеанская дева” (The Maid of Orleans)  อุปรากร  มาร์ค ทเวน (“Personal Recollections of Joan of Arc” (ความทรงจำเกี่ยวกับโจนออฟอาร์ค) - อุปรากร) ฌอง อานุยห์ (“L'Alouette” (นกลาร์ค))เบอร์โทลท์ เบร็คท์ (Bertolt Brecht) (“Die heilige Johanna der Schlachthöfe” (นักบุญโจนผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งสต็อคยาร์ด)) และจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (“นักบุญโจน” - บทละคร) นอกจากนี้วัฒนธรรมก็สืบเนื่องในการสร้างภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอเกม, เพลง และนาฏศิลป์และการเต้นรำต่อมา



          ***โจนเข้าร่วมกองทัพฝ่ายมกุฎราชกุมารฝรั่งเศส และทำให้กองทัพเชื่อมั่นจนได้ขึ้นเป็นแม่ทัพในการสู้รบที่ออร์ลีนส์ ในเดือนพฤษภาคม 1429 โจนได้ชัยชนะเหนืออังกฤษและนำทัพเข้ารุกทัพใหญ่ของอังกฤษแตกกระเจิง

          ***ในที่สุดวันที่ 17 กรกฎาคม 1429 ชาร์ลส์ที่ 7 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส และโจนได้รับเกียรติให้มีที่นั่งเคียงข้างกษัตริย์

         *** ต่อในปีค.ศ.1430 กลุ่มเบอร์กันดีจับโจนได้และนำตัวส่งให้ฝ่ายอังกฤษ โจนถูกล้างแค้นด้วยข้อกล่าวหาว่า ใส่ชุดบุรุษ อันเป็นการกระทำที่ต่อต้านพระเจ้า แต่โจนยืนยันที่จะไม่เปลี่ยนชุดเช่นนี้

       *** หลังจากถูกขังอยู่นาน 14 เดือน โจนถูกสั่งประหารด้วยการเผาทั้งเป็นกลางตลาดรูออง ในวันที่ 30 พฤษภาคม 1431 ขณะที่อายุเพียง 19 ปี โดยที่กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 7 ไม่พยายามจะช่วยเหลือเลย

       ***หลังจากนั้นในปี 1456 ศาลอุทธรณ์พิจารณคดีใหม่ และตัดสินให้โจน ออฟ อาร์ก บริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา ปี 1920 โจนได้รับการประกาศเป็นนักบุญ

_________________________